Category : บทความและสาระน่ารู้

แสงแดดและรังสี UV มีผลกระทบอย่างไรต่อผิว (2/2)

เป็นที่ทราบกันดีกว่าแสงดดนั้นก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังมากมายเช่น รอยตีนกา ริ้วรอยก่อนวัยอันควร ลดภูมิคุ้มกันผิวหนัง และมะเร็ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากกระบวนการทางชีวเคมีที่ซับซ้อนมากมาย ซึ่งผลกระทบต่อผิวหนังก็คือแสงแดดจะทำให้คอลลาเจนเสื่อมสภาพ, ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระบนผิวหนัง , แทรกแทรงการซ่อมแซมเซลล์ DNA และยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันมะเร็งเป็นต้น

คอลลาเจนเสื่อมสภาพ

แสงแดดจะทำลายคอลลาเจนไฟเบอร์ใต้ผิวหนังและก่อให้เกิดให้อีลาสตินที่มีลักษณะผิดปกติเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ที่ชื่อว่า Metalloproteinases มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน ซึ่งเจ้าเอนไซม์ตัวนี้เองค่ะ เมื่อมีปริมาณที่มากขึ้นก็ทำลายคอลลาเจนใต้ผิวหนังก่อนให้เกิดความผิดปกติของคอลลาเจนไฟเบอร์ ซึ่งทำให้เกิดริ้วรอยเล็กๆบนใบหน้า (solar scars) และสุดท้ายก็จะพัฒนากลายเป็นรอยตีนกาและรอยย่นบนใบหน้านั่นเอง

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระคือโมเลกุลอ๊อกซิเจนที่ไม่สเถียร นำไปสู่การทำลายผิวแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดมะเร็วผิวหนังได้อีกด้วยจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง DNA ของเซลล์ผิวหนัง

ปฏิกิริยาต่อคุ้มกันโรคมะเร็งของร่างกาย

การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ Langerhans ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง คือปัจจัยหลักของร่างกายในการยับยั้งเซลล์การพัฒนาของเซลล์มะเร็ง แต่รังสี UV ในแสงแดดจะทำปฎิกิริยาก่อให้เกิดสารเคมีบางอย่างซึ่งเป็นตัวลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมะเร็งของร่างกายพวกนี้ลง

การยืดหดตัวของผิวหนัง

รังสี UV ก่อให้เกิดสภาวะ Solar Elastosis เป็นภาวะยืดและหดตัวผิวหนัง สำหรับสภาวะหดตัวนั้นจะทำให้ผิวหนาขึ้นเป็นสาเหตุของรอยตีนกา และรอยย่นบริเวณคอด้านหลัง สำหรับสภาวะยืดตัวนั้นจะทำให้ผิวหนังบางลง สามารถเกิดรอยฟกช้ำและได้ง่าย

กระแดด

กระแดด มีลักษณะจุดน้ำตาลเล็กๆผิวเรียบ พบในคนสูงอายุหรือผุ้ต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นประจำ กระแดดเกิดจากปฏิกิริยาของรังสี UV ที่ทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีมากกว่าปกติบนผิวหนัง กระไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณใบหน้าเท่านั้นแต่สามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วนตามร่างกายเช่นบริเวณหลังมือ ขา แขน

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ผิวหนังทั่วตัว แต่พบมากบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น หน้า คอ มือ แขน แบ่งชนิดเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเข้มข้นของรังสี UV สูงที่สุด ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังมักเกิดจากแสงแดด ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดจะพบว่าเป็นมะเร็งมากกว่าผิวหนังส่วนอื่นๆ

ช่วงนี้แดดร้อนจัด จะไปไหนมาไหนอย่าลืมทาครีมกันแดดเสมอนะคะ และที่สำคัญต้องพกครีมกันแดดติดตัวไว้เติมระหว่างวันด้วยจะดีมากๆเลยค่ะ

ที่มา dermatology.about.com
ภาพ istockphoto.com

Hair Treatment นวัตกรรมความงามด้านเส้นผม ส่งตรงจากเกาหลีก่อนใครที่ BB Clinic

ดร. ซอง มุก ฮาน ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้บริหาร Top Clinic ยังบินตรง เพื่อมาอัพเดทเทรนด์ใหม่ พร้อมเผยถึงเทคนิค และขั้นตอนการทำว่า “การทำ Hair Treatment นอกจากใช้ผลิตภัณฑ์ Modrogen แล้วยังมีนวัตกรรมการเพิ่มออกซิเจนให้กับเส้นผมและรากผม พร้อมทั้งการบำรุงล้ำลึกด้วย Hair nutrition รวมถึงบริการจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝนจากประเทศเกาหลีโดยเฉพาะ

แสงแดดและรังสี UV มีผลกระทบอย่างไรต่อผิว (1/2)

 
แสงแดดก่อให้เกิดผลกระทบต่อผิวหนังและใบหน้า

 
ริ้วรอยต่างๆบนใบหน้า ความหย่อนคล้อย รอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณนั้นนอกจากจะเป็นผลจากอายุที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดคามเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติแล้วนั้น ทราบกันหรือเปล่าคะว่าแสงแดดนี่แหละค่ะ ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้บนผิวสวยๆของคุณมากกว่าการเปลี่ยนแปลงตามวัยไปตามธรรมชาติเสียอีก
 
90% ของปัญหาผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า กระ ร่องรอยจุดด่างดำ สิว หรือแม้แต่โรคมะเร็งผิวหนัง ต่างมีสาเหตุมาจากรังสี UVA และ UVB ที่อยู่ในแสงแดดทั้งสิ้น BB Clinic จึงนำความรู้เกี่ยวกับรังสีเหล่านี้ว่าสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อผิวพรรณและร่างกายของเราได้อย่างไรกันบ้าง
 

รังสี UV คืออะไร?

 
รังสี UV ย่อมาจาก Ultra Vilolet เป็นคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ที่แบ่งเป็นช่วงของความยาวคลื่นต่างๆดังนี้
 
— UVC: 100 — 290 นาโนเมตร
— UVC: 290 — 320 นาโนเมตร
— UVC: 320 — 400 นาโนเมตร
 
UVC
รังสี UVC เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นที่สั้นที่สุด จึงมีพลังงานมากที่สุดด้วย รังสี UVC เกือบทั้งหมดนี้จะถูกกรองที่ชั้นบรรยากาศของโลก และถึงแม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เกิดผื่นแดงและทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้
 
UVB
รังสี UVB เป็นรังสีที่มีช่วงความยาวคลื่นที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังในทันที เช่น ผิวไหม้เกรียม ผื่นแดงเป็นต้น และจะมีความเข้มข้นสูงสุดในช่วงเวลา 10-14 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดแรงจัดที่สุดของวัน แต่รังสี UVB
 
UVA
ก่อนเคยมีความเข้าใจกันว่ารังสี UVA เป็นอันตรายต่อผิวน้อยกว่ารังสี UVB เพราะเป็นรังสึที่อยู่ในช่วงพลังงานต่ำสุด แต่จากผลการวิจัยอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันกลับพบว่า รังสี UVA กลับเป็นรังสีที่อันตรายต่อผิวมากที่สุด เพราะมีความสามารถทะลุทะลวงผ่านไปสู่ผิวหนังชั้นในได้มากกว่า ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างชั้นผิวหนัง และจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินได้มาก นอกจากนี้ยังมีความเสถียรอยู่ในแสงแดดมากกว่ารังสี UVB ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย
 
หลังจากได้ทำความรู้จักกันไปแล้วว่ารังสี UV ประเภทไหนที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ตอนต่อไปจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายจากรังสีเหล่านี้กันค่ะ
 
 
 
 

ครีมกันแดด มีอายุนานแค่ไหน

 
ครีมกันแดด
 

ทราบกันหรือเปล่าคะว่าปกติแล้วครีมกันแดดทั่วไปจะมีอายุการใช้งานได้เพียงแค่ 3 ปีเท่านั้นค่ะ ซึ่งส่วนมากแล้วนั้น ก็จะมีการระบุวันที่ผลิตและวันหมดอายุไว้ที่ขวดหรือบรรจุภัณฑ์เสมอ
 
พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุ เพราะครีมกันแดดที่หมดอายุจะไม่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV เลยแม้แต่น้อย รวมไปถึงครีมกันแดดที่เก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภมูิสูงตลอดเวลาซึ่งจะทำให้หมดอายุเร็วและเสื่อมประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยเช่นกัน
 
เพื่อเพิ่มการปกป้องแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาง American Academy of Dermatology แนะนำว่าควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปค่ะ แล้วก็ควรจะทาก่อนออกแดดประมาณ 20-30 นาที พร้อมกับทาซ้ำทุกๆ 2-4 ชั่วโมง แล้วแต่สภาวะแวดล้อมและการเผชิญกับแสงแดดโดยตรงค่ะ
 
 

ผิวดีผิวใส ทำได้ง่ายๆทุกวัน

 
วิธีดูแลผิว เพื่อผิวสุขภาพดี

 
หลายคนอาจจะไม่มีเวลาสำหรับการเข้าสปา ทำทรีทเมนต์ บำรุงผิวอย่างจริงจัง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาค่ะ เพราะในแต่ละวันคุณก็สามารถปรนเปรอตัวเองด้วยการดูแลผิวแบบธรรมชาติแบบง่ายๆ เริ่มต้นด้วยเคล็ดไม่ลับ 5 ประการต่อไปนี้
 

1. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด

 
หนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดในการดูแลผิวของคุณคือเพื่อปกป้องผิวจากดวงอาทิตย์ เพราะแสงแดดเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยจุดด่างดำ ฝ้า กระ และปัญหาผิวอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นเดียวกับเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังด้วยเช่นกัน
 
วิธีง่ายๆในการปกป้องผิวจากแสงแดด

  • ใช้ครีมกันแดดที่มี ค่า SPF อย่างน้อย 15 และทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือทาบ่อยขึ้นถ้าคุณกำลังว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออกมากขณะออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • หาที่ร่ม หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วง 10:00 — 04:00 ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดแรงจัดที่สุด
  • สวมใส่สื้อผ้ามิดชิด ใส่หมวก เมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง

2. งดสูบบุหรี่

 
การสูบบุหรี่ทำให้ผิวของคุณดูแก่กว่าวัย เพราะบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆในชั้นนอกสุดของผิวแคบลง ลดการไหลเวียนโลหิต ซึ่งทำให้ผิวได้รับปริมาณออกซิเจนและสารอาหารที่สำคัญลดลง
 
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินของผิวหนัง ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นของผิวลดลงเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัยอันควรด้วยเช่นกัน
 

3. ทะนุถนอนผิวหลังอาบน้ำหรือการโกน

 
ทราบหรือไม่ว่า การชำระล้างร่างกาย ทำความสะอาดผิว หรือแม้แต่การโกนขนรักแร้ โกนหนวด ก็อาจเป็นการทำร้ายผิวทางอ้อมได้นะคะ ซึ่งข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้องมีดังนี้ค่ะ
 

  • ไม่ควรอาบน้ำนาน หรืออาบน้ำที่ค่อนข้างร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะทำลายความชุ่มชื้นของผิวคุณทั้งสิ้น ดังนั้น ควรจำกัดเวลาอาบน้ำให้ไม่เกิน 15 นาที และพยายามหลีกเลี่ยงการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำเป็นเวลานานด้วยนะคะ
  • หลีกเลี่ยงสบู่ที่ที่ทำให้ผิวแห้ง ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้สบู่เหลว หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของ Moisturizer เพื่อลดการตึงของผิวหลังอาบน้ำ
  • โกนอย่างระมัดระวัง ควรทาโลชั่นหรือเจลก่อนเสมอ ควรใช้ใบมีดโกนที่คมและให้โกนจากบนลงล่าง เพื่อไม่ให้ใบมีดโกนเคลื่อนตัวสวนทางกับรูขุมขน
  • ใช้ผ้าเช็ดตัวซับน้ำบนผิวเบาๆหลังอาบน้ำ เพื่อให้ผิวคงความชุ่มชิ้นไว้ให้นานที่สุด และบำรุงผิวด้วยโลชั่นทันที แนะนำว่าให้เลือกใช้โลชั่นที่มีปริมาณ Moisturizer และ SPF ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณด้วย

4. ทานอาหารที่มีประโยชน์

 
ผัก ผลไม้ ธัญพืช  อาหารที่มีอุดมไปด้วยโปรตีนและโดยเฉพาะวิตามินซี จะเป็นตัวช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์สดชื่นได้เป็นอย่างดีนะคะ ทานน้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ สลัด หรือเนื้อปราศจากไขมัน แค่นี้สบายมากสำหรับทุกคนเลยใช่มั๊ยละคะ
 

5. บริหารจัดการความเครียดของตัวเอง

 
ความเครียดคือบ่อเกิดของสิว และปัญหาผิวอื่นๆอีกมากมาย เพราะความเครียดจะทำให้ผิวของคุณไวต่อสิ่งกระตุ้นมากเป็นพิเศษ  ดังนั้นการบริการจัดการกับความเครียดของตัวเองจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับการชะลอวัยของผิวที่หลายคนอาจมองข้ามไป

ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สิ่งดีๆทั้งหลายก็จะเข้ามาในชีวิต รวมไปถึงสุขภาพกาย ใจ และผิวพรรณของคุณได้ค่ะ

สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าลัก(ยิ้ม)

 
ที่ตั้งหัวเรื่องแบบนี้ขึ้นมา เพราะหมอเพิ่งดูหนังเรื่อง สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารักจบ ก็ถือว่าได้ฤกษ์พอดีสำหรับการเริ่มต้นปีใหม่ 2555 ด้วยคำว่ารัก หรือ «ลัก» ที่เป็นคำพ้องเสียง แต่คำว่าลักในที่นี้ไม่ใช่ลักขโมย แต่เป็น ลักยิ้ม  เพราะเมื่อเอ่ยถึงคำว่า ลักยิ้ม หลายคนก็อาจจะนึกถึง ดาราที่มีแก้มบุ๋มเวลายิ้ม ดูน่ารักจนอยากจะมีบ้าง ซึ่งหลายคนมีลักยิ้มมาตั้งแต่กำเนิด หรือมีตอนแก้มเริ่มตอบ แต่อีกหลายคนก็ไขว่คว้าจนมีลักยิ้มมาประดับบนแก้ม

ก่อนอื่น ผู้ที่ต้องการทำลักยิ้มควรตั้งคำถามว่า
 

  • เรารู้อะไรเกี่ยวกับลักยิ้มบ้าง
  • ลักยิ้มคืออะไร
  • ควรมีลักยิ้มกี่ข้าง
  • ตำแหน่งของลักยิ้มควรอยู่ตรงไหน

หลายครั้งที่คนไข้เดินเข้ามาแล้ว ชี้ตำแหน่งบนแก้ม แล้วบอกว่า จะเอาลักยิ้มตรงนี้ ซึ่งก็หลายครั้งหมอก็บอกกับคนไข้ไปว่า ตรงนั้นมันสูงไป ตรงนั้นมันต่ำไป ตรงนั้นมันใกล้ไป ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเขียนบทความนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับลักยิ้มว่าตำแหน่งของลักยิ้มจริงๆควรอยู่ตรงไหนกันแน่
 
ตำแหน่งของลักยิ้มที่ถูกต้อง ควรอยู่ที่จุดตัดของเส้นสมมุติที่ลากจากปลายหางตา มาตัดกับเส้นสมมุติที่ลากมาจากมุมปาก ดังรูป
 
ทำลักยิ้ม

 

ลักยิ้มคืออะไร

 
ลักยิ้มธรรมชาตินั้น จริงๆแล้ว ลักยิ้มคือ รอยบุ๋มของผิวหนังที่แก้ม ( Cheek dimple ) ซึ่งเกิดจาก เส้นใยของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกมุมปากไปทางด้านข้าง  + เฉียงขึ้นด้านบน (Bifid- Zygomaticus Major ) ไปยึดเกาะกับผิวหนังบริเวณมุมปากที่ชั้นผิวหนังที่เรียกว่า Dermis  ทำให้เกิดการบุ๋มของผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อเวลายิ้ม
 
ลักยิ้ม
 
เมื่อเราทราบแล้วว่ามันเกิดจาก เส้นใยของกล้ามเนื้อ ไปยึดกับผิวหนัง ฉะนั้นจึงไปเป็นได้ในการที่แพทย์สามารถสร้างกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติ โดยการสร้าง เส้นใยเทียม ( ผังผืด ) ไปเชื่อมต่อกล้ามเนื้อ zygomaticus Major กับผิวหนังชั้น Dermis  ด้วยวิธีง่ายๆ โดยการผ่าตัดเข้าไปในกระพุ้งแก้มด้านในปาก แล้วทำการเชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับผิวหนังกำพร้าในตำแหน่งที่ต้องการทำให้เกิดลักยิ้ม
 
ซึ่งลักยิ้มที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้ผิวหนังบริเวณแก้มบุ๋ม อยู่ตลอดเวลาทั้ง ในเวลายิ้มหรือไม่ยิ้มในช่วง 1 -2 เดือนแรกหลังทำ หลังจากนั้นจะเห็นรอยบุ๋มเฉพาะตอนยิ้ม ตอนไม่ยิ้มไม่เห็น
 

ปกติเขาทำลักยิ้มกันกี่ข้าง และนิยมทำลักยิ้มกันข้างไหน

 
อันนี้หมอขอ ออกตัวเลยนะครับว่า ไม่ได้ชี้นำว่าควรทำข้างไหนจะดีกว่ากัน แต่จะนำสถิติที่ทำลักยิ้มให้กับคนไข้มาฝากคือ คนไข้ส่วนใหญ่ชอบทำลักยิ้มข้างเดียว และมักเป็นข้างขวา พอถามว่าทำไมต้องข้างขวา คำตอบจากส่วนใหญ่จะพูดเหมือนกันว่า «มันเก๋ดี»

 

ศัลยกรรมลักยิ้ม